คุณกำลังมองหาอะไร?

น้

น้ำเต้าหู้ผสมมะนาว เป็นยาเด็ดอายุวัฒนะ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

25.02.2565
2708
4
แชร์
25
กุมภาพันธ์
2565

เรื่อง : น้ำเต้าหู้ผสมมะนาว เป็นยาเด็ดอายุวัฒนะ

เรียบเรียงโดย

นางสาวนฤมล ธนเจริญวัชร

ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย  เบอร์ 02 590 4791

วันที่ตรวจสอบ 25 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย จ.สมุทรสาคร แนะนำคนไข้ดื่มน้ำนม
ถั่วเหลืองผสมน้ำมะนาว ลักษณะของจะเปลี่ยนไปเป็นไขขุ่น คล้ายซีลีแลคหรือวุ้นหรือ โจ๊ก มีคุณค่าสูง เป็นอาหารเสริมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของร่างกายสมอง และสายตา หากดื่มทุกวัน มีสรรพคุณ คือ 1) ช่วยให้ระบบเส้นเลือดฝอยให้ยืดหยุ่นดี ไม่เปราะ แตกง่าย เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน/แตกได้ 2)  ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันทำให้สุขภาพแข็งแรง ต้านทานโรคติดเชื้อได้ดี ไม่เจ็บป่วยง่าย 3) ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนเลือด ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้เต็มที่ สมองแจ่มใส ไม่มึนงง ร่างกายสดชื่น 4) ช่วยให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย แข็งแรง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดี บาดแผลทุกชนิดจะหายเร็วขึ้น รากผมแข็งแรง บรรเทาปัญหาผมร่วงในหญิงวัยทองได้ 5) เมื่อสุขภาพโดยรวมดีก็จะทำให้สมรรถภาพทางเพศดี ตามไปด้วย 6) มะนาวมี วิตามินซีซึ่งเป็นอนุมูลอิสระและถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวนในช่วยป้องกันมะเร็ง

ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website: https://www.facebook.com/natchana5607/posts/140692841056236?_rdc=2&_rdr

 

ข้อเท็จจริง: การบีบมะนาวที่มีฤทธิ์เป็นกรดผสมน้ำนมถั่วเหลืองที่มีโปรตีนแล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นวุ้น/เจล ใช้หลักการโปรตีนไฮโดรไลเสต คือทำให้สายโพลีเพปไทด์ของโปรตีนถูกตัดให้สั้นลง ส่งผลให้โปรตีนเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมบัติเชิงหน้าที่เป็นสารอิมัลชิไฟเออร์และเกิดเจล โปรตีนไฮโดรไลเสตมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพดูดซึมง่าย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคบางชนิด ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้ เป็นต้น

 

ผลกระทบ: ตามวิธีที่กล่าวอ้าง ไม่สามารรถเจาะลงชนิดและคุณภาพโปรตีนได้ ดังนั้นการกล่าวถึงผลต่อสุขภาพโดยใช้ อาจทำให้ประชาชนปฏิบัติตาม ทั้งที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่จะได้รับชัดเจน

ข้อแนะนำ : หากกินอาหารปกติได้ให้อาหารครบ 5 หมู่ หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม ร่างกายจะสามารถย่อยโปรตีนเพื่อดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องการกินโปรตีนที่ผ่านการย่อยแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย,

  2. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย, 2563

  3. ชัวร์ก่อนแชร์. น้ำเต้าหู้ผสมมะนาว สูตรเด็ดอายุวัฒนะจริงหรือ?. เผยแพร่ 19 กันยายน 2558.  [เข้าถึงเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=bBMyFd7gV_U

  4. เกียรติศักดิ์ และ บูรฉัตร. (2557). การดัดแปรสมบัติของโปรตีนโดยใช้เอนไซม์โปรติเอสและการประยุกต์ใช้. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 42(2), 274-288

  5. Nasri, M. (2017). Protein hydrolysates and biopeptides: production, biological activities, and applications in foods and health benefits. A review. Advances in Food and Nutrition Research, 81, 109-159

 

 

 

                                                                                                                      

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน