คุณกำลังมองหาอะไร?

ลการวิจัยเผย ดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อม

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

03.02.2565
2888
1
แชร์
03
กุมภาพันธ์
2565

เรื่อง : ผลการวิจัยเผย ดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน

ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อม

 

เรียบเรียงโดย

ชื่อ นายวรภัสม์ แป้นจันทร์
ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติการ

สำนักโภชนาการ กรมอนามัยเบอร์ 0-2968-7619

วันที่ตรวจสอบ 3 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้อสรุป: มีการศึกษาจาก Biobank ในปี 2021 กล่าว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำ 0.5 – 3 แก้วต่อวัน สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากสาเหตุอื่นๆได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ นอกจากนี้ ผลการศึกษาอีกหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟ 3 แก้ว ต่อวันสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟ หรือชามากขึ้นนั้นดีต่อสมอง ดังนั้นสิ่งที่ผู้ดื่มกาแฟเป็นประจำต้องตระหนัก คือ กาแฟแต่ละชนิด มีคาเฟอีนไมเท่ากัน จึงควรบริโภชาหรือกาแฟในปริมาณที่เหมาะสม
ลักษณะข่าว : ข่าวอาจจะจริง

url website: https://today.line.me/th/v2/article/7NZ7gqQ

ข้อเท็จจริง : การวิจัย Cohort study พบกลุ่มที่ดื่มกาแฟ 2-3 แก้ว/วัน ชา 3-5 ถ้วย/วัน หรือดื่มรวมกัน 4-6 ถ้วย/วันสัมพันธ์กับอัตราส่วน (HR) การเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและภาวะสมองเสื่อมน้อยกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ แต่สรุปไม่ได้ว่าการดื่มกาแฟหรือชามากขึ้นมีผลดีต่อสมอง และมีข้อจำกัดเรื่องการกรอกข้อมูลรวมถึงตัวแปรอื่นจึงไม่อาจสะท้อนรูปแบบการบริโภคในระยะยาว ผู้เข้าร่วม UK Biobank ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้

ผลกระทบ : แม้จะพบผลการวิจัยเรื่อความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟและชากับความเสี่ยงการเกิดโรค แต่งานวิจัยยังมีข้อจำกัด ซึ่งไม่ได้หมายความถึงให้ทุกคนดื่มกาแฟ ชา ให้มากขึ้นในระหว่างวัน

ข้อแนะนำ : ควรเลือกกาแฟดำแทนกาแฟที่ใส่น้ำตาลและครีมเทียม ใน 1 วันไม่ควรดื่มกาแฟเกิน 3-4 แก้ว หรือรับคาเฟอีนไม่เกิน 300-400 มิลลิกรัม เพราะหากบริโภคมากเกินจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

เอกสารอ้างอิง :

Zhang, Y., Yang, H., Li, S., Li, W. D., & Wang, Y. (2021). Consumption of coffee and tea and risk of developing stroke, dementia, and poststroke dementia: A cohort study in the UK Biobank. PLoS medicine, 18(11), e1003830.

Torres-Collado, L., Compan-Gabucio, L.M., Gonzalez-Palacios, S., Notario-Barandiaran, L., Oncina-Canovas, A., Vioque, J., Garcia-de la Hera, . coffee consumption nd all-cause, cardiovascular, and cancer mortality in an adult Mediterranean population. Nutrients 2021, 13, 1241. doi : 10.3390/nu13041241.

Hedstrom, A. K., owry, E. M., Gianfrancesco, M. A., Shao, X., Schaefer, C. A., Shen, L., Olsson, T., Barcellos, L. F., Alfredsson L. High consumption of coffee is associated with decreased multiple sclerosis risk; results from two independent studies. J Neurol Neurosurg Psychiatry. 2016;87:454-460. doi : 10.1136/jnnp-2015-312176

Echeverri, D., ontes, F. R., Cabrera, M., Galan, A., Prieto, A. Caffeine’s vascular mechanism of action. International Journal of Vascular edicine. 2010;10. doi : 10.1155/2010/834060.

พรรณพร กะตะจิตต์. (22 มิถุนายน 2563). วิทยาศาสตร์ของกาแฟ. (อินเทอร์เนต). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565

 

 

 

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน