กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
แบบฟอร์มตอบโต้ข่าวระบบสาสุขชัวร์ สานักโภชนาการ กรมอนามัย
หัวข้อข่าว การกินข้าวเหนียว ทำให้ง่วงนอนได้จริงหรือ
ลิงก์ข่าว : https://www.instagram.com/p/CnME7Gjj3FI/
ผลการตรวจสอบ : ?ข่าวจริง
รายละเอียดตอบกลับ : ข้าว มีส่วนประกอบส่วนใหญ่ คือคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ที่เป็นสตาร์ซ (starch) ซึ่งมีอะไมโลส (Amylose) และ อะไมโลเพกติน (Amylopactin) เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งอะไมโลสเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันเป็นเส้นตรง ย่อยง่าย พบในข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว ส่วนข้าวเหนียว จะมีอะไมโลเพกตินที่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่อกันแบบกิ่งก้านสาขา ซึ่งจะทำให้ย่อยได้ยากกว่าและมีปริมาณที่มากกว่าในข้าวเจ้า เมื่อเรากินข้าวร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเล็ก คือน้ำตาลกลูโคสและซูโครส เมื่อปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจะทำการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ ขณะที่อินซูลินหลั่งสารชื่อเซโรโทนินออกมา สารเมลาโทนินก็จะหลั่งออกมาเช่นกัน สารชนิดนี้ทำให้เกิดอาการง่วง ข้าวเหนียวเมื่อเข้าสู่ระบบลำไส้ร่างกายจะมีกระบวนการย่อยนานกว่าปกติ พอยิ่งนานร่างกายก็หลั่งสารเซโรโทนินและเมลาโทนิน ทำให้เกิดอาการง่วงมากขึ้นเป็นระยะเวลานานกว่าการกินข้าวสวยด้วย
เอกสารอ้างอิง : 1. จริงหรือไม่? ข้าวเหนียวกระตุ้นความง่วง. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/question-healthy-sticky-rice-sleepy/ 2. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. Rice / ข้าว. Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. [เข้าถึงเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: HTTPS://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/001657/RICE-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 หมายเหตุ :Click or tap here to enter text.
ผู้ตรวจสอบ : นางแคทธิยา โฆษร ตาแหน่ง : นักโภชนาการปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ : 025904907 วันที่ตรวจสอบ : 08 ก.พ. 66
การกินข้าวเหนียว ทำให้ง่วงนอนได้จริงหรือ.pdf |
ขนาดไฟล์ 177KB
ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |