กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/watch/?v=597596542228352
ผลการตรวจสอบ : ข่าวบิดเบือน
รายละเอียดตอบกลับ : 5 อาหารเทียมที่กล่าวถึง ได้แก่ 1) ครีมเทียม 2) น้ำตาลเทียม 3) เนยเทียมหรือมาการีน 4) เนื้อสัตว์เทียม 5) ซอสมะเขือเทศ หากกินในปริมาณมากเกินไปจะก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมาได้ ดังนี้ 1) ครีมเทียม มีองค์ประกอบหลักเป็นไขมันปาล์ม มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง หากกินมากเกินไปจะทำให้มีไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังต่างๆ เนื่องมากจากไขมันในเลือดที่ผิดปกติ 2) น้ำตาลเทียม หากได้รับน้ำตาลเทียม ปริมาณมากอาจทำให้การย่อยน้ำตาลบกพร่องและมีภาวะดื้ออินซูลินได้ อีกทั้งการใช้น้ำตาลเทียมนั้น ยังทำหน้าที่หลอกลิ้นว่าหวาน แต่สมองที่ต้องการน้ำตาลจริงไม่ได้รับความหวานตามที่ต้องการ ก็เกิดการกระตุ้นทำให้อยากกินน้ำตาลมากๆ เพื่อให้หายอยากในภายหลังซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อ้วน 3) เนยเทียม (margarine) เป็นแหล่งของไขมันทรานส์ (Trans Fat) หากกินปริมาณมากเกินไป จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เพิ่มไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol) และลดไขมันดี (HDL-Cholesterol) อีกด้วย 4) เนื้อสัตว์เทียม หรือเนื้อเทียม เป็นอาหารที่มีลักษณะทางประสาทสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ ส่วนมากผลิตจากพืช อาทิ เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดข้าวสาลี เห็ด มีโปรตีนสูง ข้อควรระวังพยายามหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารทอด และควรกินอาหารให้หลากหลาย และ 5) ซอสมะเขือเทศ มีไลโคปีนเป็นส่วนประกอบ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด กระเพาะอาหาร แต่หากกินปริมาณมากเกินไป จะได้รับปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความดันโลหิตสูงอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง : 1. วนะพร ทองโฉม. ครีมเทียม ใส่มากอันตราย. RAMA CHANNEL คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=ENSusyrKhXo 2. กรมอนามัย เตือน ติดหวานแม้ดื่มสูตรน้ำตาล 0% เสี่ยงอ้วน. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/125434/ 3. สุขภาพดี ห่างไกลไขมันทรานส์(2). สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_printing/1628 4. ทิสยา ทิศเสถียร. “เนื้อเทียม” อาหารจากพืช. ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=69455 5. วิมล ศรีศุข. กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2566].
เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/1/ประโยชน์-มะเขือเทศ-ไลโคปีน-lycopene/ หมายเหตุ :Click or tap here to enter text.
ผู้ตรวจสอบ : นางแคทธิยา โฆษร ตำแหน่ง : นักโภชนาการปฏิบัติการ
เบอร์โทรศัพท์ : 025904907 วันที่ตรวจสอบ : 14 มี.ค. 66
5 อาหารเทียม โคตรอันตราย.pdf |
ขนาดไฟล์ 192KB
ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |