คุณกำลังมองหาอะไร?

ครื่องปรุงรสเหล่านี้ เสี่ยงเป็นโรคอะไร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.08.2566
81
0
แชร์
30
สิงหาคม
2566

ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/photo/?fbid=518855963594496&set=a.413222520824508
ผลการตรวจสอบ : ข่าวจริง

รายละเอียดตอบกลับ : พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสจัด หรือการชอบปรุงรสอาหารด้วยรสหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือมันจัด จะส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NDCs) เช่น การกินอาหารรสหวานจัด หรือปรุงอาหารด้วยน้าตาลมากเกินไป พลังงานส่วนเกินที่ใช้ไม่หมดจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ส่งผลให้น้าหนักเกิน มีภาวะอ้วน เสี่ยงโรคเบาหวาน การกินอาหารรสเค็มจัด หรือการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสเค็มมากเกินไป เช่น เกลือ น้าปลา ซอสปรุงรสต่างๆ ทาให้หัวใจทางานหนักขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และการบริโภคอาหารรสเค็ม ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และส่งผลทาให้ไตทางานหนักและเสื่อมเร็วขึ้น การกินอาหารรสเผ็ดจัด อาจะเสี่ยงทาให้เกิดอาการแสบร้อนในปาก แสบร้อนหน้าอก แสบร้อนและระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงต่ออาการกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร โรคลาไส้แปรปรวน การกินอาหารรสเปรี้ยวจัด หรือปรุงรสอาหารด้วยสารให้ความเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้าหนักส้มสายชู น้าหมักเปรี้ยว มะนาวดอง ในปริมาณมากเกินไป เป็นประจาต่อเนื่อง จะทาให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากทาให้เกิดกรดให้กระเพาะอาหารสูงเกินไป ลาไส้แปรปรวน เกิดภาวะกรดไหลย้อน ท้องเสีย รวมถึงรสเปรี้ยวจะไปทาลายสารเคลือบฟัน ทาให้เกิดอาการเสียวฟันได้ง่ายขึ้น เสี่ยงเกิดฟันผุได้ง่าย การกินอาหารมันจัด หรืออาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลสูง ทาให้เสี่ยงต่อภาวะอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เทคนิคกิน เพื่อสุขภาพดี คือ ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง ลดการเติมเครื่องปรุงรสหวาน เค็ม เผ็ด เปรี้ยว มากเกินไป หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด เลี่ยงขนม/เครื่องดื่มรสหวาน เลี่ยงอาหารทอด หรืออาหารไขมันสูง เลือกใช้น้ามันให้เหมาะสม งดน้ามันทอดซ้า ลดการกินอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสาเร็จรูป น้าจิ้มต่างๆ และขนมขบเคี้ยวต่างๆ ลดหวาน มัน เค็ม โดยสูตรกินน้าตาล : น้ามัน : เกลือ 6 : 6 : 1 ช้อนชาต่อวัน กินผลไม้ วันละ 400 กรัม ผักมื้อละ 2 ทัพพี ผลไม้มื้อละ 1 – 2 ส่วน และออกกาลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์

เอกสารอ้างอิง : 1.รศ. พญ. วีรนุช รอบสันติสุข พญ. สิริสวัสดิ์ วันทอง. ลดเค็มพิชิตภัยเงียบ. [อินเทอร์เน็ต].สมาคมความดันโลหิตสูง แห่งประเทศไทย;2558 [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf. 2. ทิพรดี คงสุวรรณ “กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงแค่โรคไต แต่ยังเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด”. [อินเทอร์เน็ต]; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/antifakenews/download?id=74767&mid=35692&mkey=m_document&lang=th&did=24236. 3. สานักโภชนาการ กรมอนามัย. สุขภาพดี เริ่มที่อาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผัก ผลไม้ เพิ่มขึ้น.2562. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://planning.anamai.moph.go.th/web-upload/20xa4d80079fdd38ace9fb48a050e5b52e4/202012/m_document/31509/13377/file_download/9a3b9146e38d9190e86da0802648d7d0.pdf 4. ผศ.(พิเศษ) พญ.ฐนิสา พัชรตระกูล.อาหารรสเผ็ดดีหรือไม่.[อินเทอร์เน็ต]; 2564.[เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/อาหารรสเผ็ดดีหรือไม่

ผู้ตรวจสอบ : นางสาววราภรณ์ จิตอารี ตาแหน่ง : นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ : 0 2590 4902 วันที่ตรวจสอบ : 28 มิถุนายน 2566

ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

เครื่องปรุงรสเหล่านี้ เสี่ยงเป็นโรคอะไร.pdf
ขนาดไฟล์ 274KB
ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน