องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้
บทคัดย่อ
ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่ศึกษาครั้งนี้ คือ เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และวิตามินซี เพราะวิตามินกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนช่วยซึ่งกันและกันในการทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ และยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของขบวนการออกซิเดชั่น ผลไม้หลายๆอย่างมีวิตามิน 3 ตัวนี้มากพอสมควร จากการศึกษาครั้งนี้พบผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะเขือเทศราชินี มะละกอสุก กล้วยไข่ มะม่วงยายกล่ำ มะปรางหวาน แคนตาลูปเนื้อเหลือง มะยงชิด มะม่วงเขียวเสวยสุกและสับปะรดภูเก็ต ผลไม้ทั้งหมดนี้ล้วนมีเนื้อสีเหลืองและสีหลืองเข้ม 10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เมล็ด มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะโรงเรียน ลูกพลับ สตรอเบอรี มะละกอสุก ส้มโอขาวแตงกวาและพุทราแอปเปิ้ล สำหรับวิตามินอีมีในผลไม้ไม่มากนักเพราะผลไม้ไม่ใช่แหล่งของวิตามินอี ในการศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ ขนุนหนัง มะขามเทศ มะม่วงเขียวเสวยดิบ มะเขือเทศราชินี มะม่วงเขียวเสวยสุก มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะม่วงยายกล่ำสุก แก้วมังกรเนื้อสีชมพู สตรอเบอรีและกล้วยไข่ ผลไม้ประเภทเดียวกันแต่สีไม่เหมือนจะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนไม่เท่ากัน เช่นแคนตาลูปเนื้อสีเหลืองและแคนตาลูปเนื้อสีเขียว หรือสับปะรดต่างชนิดกันได้แก่สับปะรดภูเก็ต สับปะรดภูแล สับปะรดศรีราชา
ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระน้อยทั้ง 3 ตัวคือ สาลี่ องุ่นและแอปเปิ้ล ส่วนผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โครงการศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้(เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และวิตามินซี)
หลักการและเหตุผล
อนุมูลอิสระก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหลายอย่าง ได้แก่ ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง ทำลายเนื้อเยื่อ และเกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุเป็นต้น โดยมีสาเหตุทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย เช่น มลพิษในอากาศ แสงแดด รังสี อาหารและเมตาบอลิสึมของออกซิเจนในเซลล์ เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และวิตามินซีเป็นวิตามินที่สามารถทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ จึงเรียกว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือantioxidant ผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน แต่ข้อมูลส่วนนี้มีไม่มากและไม่ครอบคลุมวิตามินทั้ง 3 ตัว
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปริมาณเบต้าแคโรทีน วิตามินอีและวิตามินซีในผลไม้
วิธีการวิจัย
สุ่มเก็บตัวอย่างผลไม้อย่างน้อย 3 แหล่ง นำแต่ละชนิดทำเป็น composite sample ใช้เฉพาะส่วนมี่รับประทานได้มาวิเคราะห์วิตามินทั้ง 3 ชนิด
ผลการศึกษา
จากการศึกษาครั้งนี้พบผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะเขือเทศราชินี มะละกอสุก กล้วยไข่ มะม่วงยายกล่ำ มะปรางหวาน แคนตาลูปเนื้อเหลือง มะยงชิด มะม่วงเขียวเสวยสุกและสับปะรดภูเก็ต ผลไม้ทั้งหมดนี้ล้วนมีเนื้อสีเหลืองและสีหลืองเข้ม 10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งไร้เมล็ด มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะโรงเรียน ลูกพลับ สตรอเบอรี มะละกอสุก ส้มโอขาวแตงกวาและพุทราแอปเปิ้ล สำหรับวิตามินอีมีในผลไม้ไม่มากนักเพราะผลไม้ไม่ใช่แหล่งของวิตามินอี ในการศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ ขนุนหนัง มะขามเทศ มะม่วงเขียวเสวยดิบ มะเขือเทศราชินี มะม่วงเขียวเสวยสุก มะม่วงน้ำดอกไม้สุก มะม่วงยายกล่ำสุก แก้วมังกรเนื้อสีชมพู สตรอเบอรีและกล้วยไข่ ผลไม้ประเภทเดียวกันแต่สีไม่เหมือนจะมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนไม่เท่ากัน เช่นแคนตาลูปเนื้อสีเหลืองและแคนตาลูปเนื้อสีเขียว หรือสับปะรดต่างชนิดกันได้แก่สับปะรดภูเก็ต สับปะรดภูแล สับปะรดศรีราชา
ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระน้อยทั้ง 3 ตัวคือ สาลี่ องุ่นและแอปเปิ้ล ส่วนผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องๆแบบนี้ โดยใช้หน่วยเทียบเป็นชิ้นหรือผลเพื่อสื่อสารถึงประชาชนได้ง่ายและชัดเจน และข้อมูลที่ศึกษาหรือรวบรวมแล้วต้องเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆให้หลากหลาย เพื่อการนำไปใช้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
สารต้านอนุมูลอิสระ(เบต้าแคโรทีน วิตามินอี วิตามินซี)ในผลไม้.pdf |
ขนาดไฟล์ 264KB
|
ดาวน์โหลด
แจ้งไฟล์เสีย |